Hand Protection / อุปกรณ์ป้องกันมือ

Hand Protection
Hand Protection

อันตรายที่เกิดกับมือ

อันตรายที่มักเกิดขึ้นกับมือของเรามาจาการทำงาน ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนและค่อนข้างละเอียดอ่อนของขบวนการผลิตที่แตกต่างกัน และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการใช้ ถุงมือให้ “เหมาะสมกับงาน” อันตรายที่มักเกิดขึ้นกับมือของเรา ได้แก่  

  • Mechanical Hazard : อันตรายจากแรงกล เช่น การขัดสี การบาด การฉีกขาด การเจาะทะลุ
  • Chemical Hazard: อันตรายจากสารเคมี
  • Micro-organisms: อันตรายจากจุลชีพ
  • Ionizing Radiation : อันตรายจากรังสีที่มีพลังงานสูง เช่น ความร้อน หรือ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ หรือรังสีจากงานเชื่อม (UV & IR), คลื่นไมโครเวฟ, รังสี X-ray
  • Radioactive Contamination: อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี
  • Electric current : อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
  • Thermal Hazard  : อันตรายจากอุณหภูมิสูง
  • Cryogenic Hazard : อันตรายจากอุณหภูมิต่ำ

ประเภทของถุงมือ

  • ถุงมือผ้าสำหรับงานทั่วไป
  • ถุงมือกันบาด
  • ถุงมือหนังงานเชื่อม
  • ถุงมือกันสารเคมี
  • ถุงมือแพทย์
  • ถุงมือกันความร้อน
  • ถุงมือกันความเย็น
  • ถุงมือกันแรงสั่นสะเทือน
Hand Guide
Hand Guide

คุณลักษณะทั่วไปของถุงมือ

1. ความหนาของถุงมือ (Thickness) โดยทั่วไปในการวัดความหนาของถุงมือนั้น จะมีหน่วยวัดเป็น Gauge หรือ mil โดยที่ 1 mil = 0.001” (นิ้ว-Inches) ยกตัวอย่างเช่น ถุงมือหนา 10 Gauge หรือ 10 mil ก็หมายความว่ามีความหนาเท่ากับ 0.010 นิ้ว เป็นต้น ถ้างานต้องการความยืดหยุ่นและความรู้สึกจากการสัมผัสมากก็เลือกใช้ถุงมือที่มีความหนาน้อย (Low Gauge Glove)

2. ความยาวของถุงมือ (Length) พิจารณาให้สัมพันธ์กับระยะหรือตำแหน่งที่ต้องการได้รับการป้องกัน เช่น
              –  ป้องกันมือและข้อมือ ก็เลือกใช้ถุงมือที่มีความยาว 9–14” (23–36 cm.) 
              –  ป้องกันท่อนแขนช่วงล่างถึงข้อศอก ก็เลือกใช้ถุงมือที่มีความยาว 14–18” (36–46 cm.) 
              –  ป้องกันตลอดทั้งแขนจนถึงหัวไหล่ ก็เลือกใช้ถุงมือที่มีความยาว 31” (76 cm.)

3. ขนาดของถุงมือ (Size) ควรพิจารณาเลือกให้สวมใส่ได้พอดี ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ซึ่งถ้าขนาดเล็กไปก็จะรู้สึกไม่สบายมือ เหงื่อออกมาก และอาจปริแตกหรือฉีกขาดได้ ในขณะที่สวมถุงมือขนาดใหญ่หรือหลวมก็จะมีผลต่อความคล่องแคล่วของมือ หรือลื่นหลุดจากมือ หรืออาจไปเกี่ยวหรือพันเข้ากับส่วนที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักรทำให้เกิดอันตรายได้  โดยในการพิจารณาขนาดของถุงมือนั้น อาจใช้วิธีเอาสายวัด วัดระยะเส้นรอบวงของฝ่ามือ (Hand Circumference) เช่น ถ้าวัดได้เท่ากับ 9” ก็เลือกใช้ถุงมือที่มีขนาด Medium (M) และถ้าวัดได้ 9.5” ก็ควรเลือกใช้ขนาด Large